วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พุ่มพวง ดวงจันทร์

พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง
ก่อนเข้าวงการ
รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ บ้านหนองนกเขา ตำบลไพรนกยูง
อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท[1] โตที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน[2]
สถานภาพครอบครัวเธอจัดอยู่ในขั้นที่ยากจนมาก เธอเรียนที่โรงเรียนบ้านดอนตำลึง แต่ด้วยความที่เธอมีน้องอีก 6 คน ประกอบกับค่านิยมของแม่นั้นเห็นว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนมา เธอไม่จบแม้แต่ชั้น ป.2 ในวัยเด็กพอน้องหลับหมด เธอไปหาของขาย เก็บผัก หาดอกไม้ป่า หาบไปขายตามโรงงาน[3]

เส้นทางนักร้อง
รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าเธอจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยม เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย
[4] เธอเข้าประกวดล่ารางวัลไปทั่ว ตั้งแต่อำเภอศรีประจันต์ บางปลาม้า แล้วข้ามจังหวัดไปถึงอำเภอเสนา ผักไห่ มหาราช วิเศษชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดน พระพุทธบาท สระบุรี และต่อมาอยู่กับวงดนตรีที่กรุงเทพฯ กับ ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ แต่ยังไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพก็กลับบ้านอำเภอสองพี่น้อง
ในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 15 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นำวงดนตรีมาแสดงที่วัดทับกระดาน เธอได้ร่วมร้องเพลงและแสดงความสามารถจนไวพจน์เห็นความสามารถ เกิดความเมตตา จึงรับเป็นบุตรบุญธรรมและพาไปอยู่กรุงเทพฯ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็น
หางเครื่องและนักร้องพลาง ๆ ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ เพลงแต่งแก้กับเพลง "แก้วจ๋า" โดยใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ ซึ่งจากการอยู่ในวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ ทำให้เธอสนิทสนมกับธีระพล แสนสุข ทำให้ต้องแยกออกจากวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาเริ่มงานกับศรเพชร ศรสุพรรณ โดยทำงานเป็นทั้งหางเครื่องและนักร้องในวง และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด

ความสำเร็จและรางวัล
ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น "พุ่มพวง ดวงจันทร์" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ "รักไม่อันตรายและรำพึง" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจาก
ประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้นพุ่มพวง
พ.ศ. 2521 พุ่มพวงได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง “อกสาวเหนือสะอื้น” นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง "
ส้มตำ" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัดอโซน่า โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น จะให้รอ พ.ศ.ไหน (มิ.ย. 2525) สาวนาสั่งแฟน (2526) นัดพบหน้าอำเภอ (2526) ทิ้งนาลืมทุ่ง (2527) คนดังลืมหลังควาย (2528) อื้อฮื้อ ! หล่อจัง (2528) ห่างหน่อย – ถอยนิด (2529) ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน (2529) เรื่องของสัตว์โลก (2529) และ คิดถึงน้องบ้างนะ (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว
ต่อมาย้ายมาอยู่กับพีดี โปรโมชั่น และ ซีบีเอส เร็คคอร์ด (ประเทศไทย) และอาจารย์ไพจิตร ศุภวารีได้เปลี่ยนภาพลักษณ์พุ่มดวงให้เข้ากระแสนิยมของ
เพลงสตริงในยุคนั้น แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับของนักฟังเพลงลูกทุ่ง จึงได้ย้ายไปทำงานร่วมกับท็อปไลน์มิวสิค มีผลงานเพลงที่ได้รับความนิยมมากมาย ผลงานที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นชุด ตั๊กแตนผูกโบว์, กล่อม และ ทีเด็ดพุ่มพวง ผลงานกับค่ายท็อปไลน์มิวสิคอื่น ๆ เช่น หนูไม่รู้, หนูไม่เอา, พี่ไปดู หนูไปด้วย และนำผลงานเก่ามามิกซ์รวมกัน เช่น พุ่มพวงหลาย พ.ศ. (ตลับทอง และตลับเพชร), ขอให้รวย, น้ำผึ้งเดือนห้า, ซูเปอร์ฮิต 1 และ 2 จากนั้นเธอเริ่มรับจ้างทำงานให้กับอาร์เอส โปรโมชั่น เมโทรเทปและแผ่นเสียง และแฟนตาซี ไฮคลาส สำหรับผลงานกับค่ายอาร์เอส เช่น ลูกทุ่งท็อปฮิตมาตรฐาน เป็นผลงานอัลบั้มที่เธอนำเพลงดังของศิลปินลูกทุ่งดังในอดีตมาร้องใหม่ นอกจากนี้ยังมีค่ายเมโทรฯ ที่ได้ลิขสิทธิ์งานเพลงชุด "ส่วนเกิน" อีก 1 ชุด[5]
พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ผลงานการแสดงของเธอในฐานะนางเอก อย่างเช่น สงครามเพลง, รอยไม้เรียว, ผ่าโลกบันเทิง, นักร้อง นักเลง, นางสาวกะทิสด, มนต์รักนักเพลง, ลูกสาวคนใหม่, อีแต๋น ไอเลิฟยู, หลงเสียงนาง, จงอางผงาด, ขอโทษทีที่รัก, คุณนาย ป.4, อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง, สาวนาสั่งแฟน, เสน่ห์นักร้อง, นางสาวยี่ส่าย (ภาพยนตร์โทรทัศน์) เป็นต้น[5]
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกครั้ง ในสาขารางวัลขับร้องเพลงดีเด่น กับเพลง "สยามเมืองยิ้ม" ประพันธ์โดยครูลพ บุรีรัตน์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง ภาค 2[4]
ลาลับ
13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า พุ่มพวงทะเลาะกับสามี และป่วยเป็นโรคไตขั้นรุนแรง จนต้องเข้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถเบิกเงินจากธนาคารเพื่อมารักษาตัวเองได้ (ซึ่งมีอยู่ 6 ล้านบาท) สมุดบัญชีอยู่กับไกรสร (สามี) ที่เชียงใหม่ เธอจึงตัดสินใจสั่งอายัติเงินทั้งหมด ต่อมา 20 มีนาคม เธอเดินทางจากเชียงใหม่ เข้ารักษาตัวเองที่โรงพยาบาลตากสิน จันทบุรี และย้ายไปที่
โรงพยาบาลศิริราช แพทย์ตรวจพบว่าเธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาการขั้นรุนแรง ลุกลามถึงไต ทางด้านไกรสรออกมายอมรับว่ามีปัญหาครอบครัวจริง ต่อมา 3 เมษายน แพทย์เจ้าของไข้เปิดเผยว่าพุ่มพวงอาการดีขึ้น ทางด้านญาติของพุ่มพวงมีความเห็นว่าควรรักษาด้วยไสยศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าถูกปองร้ายด้วยไสยศาสตร์ด้วยวิธีการคุณไสย ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เดินทางออกจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อไปรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ไปจังหวัดพิษณุโลกโดยเดินทางด้วยรถตู้ แต่หลังจากกราบไหว้พระพุทธชินราช เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก็เกิดอาการช็อคและหมดสติ ญาตินำส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช กระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 20.055 น.
ได้สวดอภิธรรมศพที่
วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

ชีวิตส่วนตัว
แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ
ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย
ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า
ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ "เพชร" หรือ "บ่อยบ๊อย" ลีละเมฆินทร์[2] ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน[6]

สิ่งสืบเนื่องและการรำลึกถึง
เดือนมิถุนายน 2535 หลังจากที่พุ่มพวงเสียชีวิต ค่ายท็อปไลน์และค่ายอโซน่า ก็นำเอาเพลงชุดต่างๆ ของพุ่มพวงออกวางจำหน่ายอีกครั้ง ท็อปไลน์ได้มีการทำปกขึ้นมาใหม่อีก คือ คิดถึงพุ่มพวง, ส้มตำ, คอนเสิร์ต โลกดนตรี โดยชุด ส้มตำ จัดสร้างขึ้นโดยคณะกรรมการจัดงานพระราชทาน เพลิงศพฯ มีคำบรรยายเกียรติประวัติพุ่มพวง และเพลงอย่าง ส้มตำ, กล่อม, ฉลองวันเศร้า, รักคุด, แล้วจะทนเพื่ออะไร, ของขวัญที่ฉันคืนเธอ, หัวใจทศกัณฐ์, เขานอนบ้านใน, หนูไม่รู้, แฟนพุ่มพวง เป็นต้น
[5]
ผลงานอัลบั้มเพลงที่วางจำหน่ายเพื่อระลึกถึงพุ่มพวงเช่น คิดถึงพุ่มพวงและโลกของผึ้ง และยังมีเทปที่ทำเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตอย่างเช่น แหล่ประวัติพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ หนึ่งในดวงใจผลงานของยุ้ย โดยยุ้ย ญาติเยอะ (จริยา ปรีดากูล) เหลือแต่ดวงจันทร์ ที่ครูลพ บุรีรัตน์แต่งให้พุ่มพวง
งานเพลงของศิลปินที่นำเพลงของพุ่มพวงมาขับร้องใหม่โดยเฉพาะนักร้องปัจจุบัน มีความแตกต่างกันด้วยจังหวะและระยะเวลาที่ต่างกันไป แกรมมีโกลด์นำผลงานของพุ่มพวงโดยเฉพาะทีประพันธ์โดยลพ บุรีรัตน์ ออกมาอยู่เรื่อยๆ มียอดขายประสบความสำเร็จอย่างดี มีผลงานออกมาอย่าง พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4 โดย
ใหม่ เจริญปุระ , อัลบั้ม เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1 (ชุดเดียว) กับเพลงเปิดตัว "โลกของ ผึ้ง" โดยดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดบทเพลง[7] อัลบั้ม ดวงจันทร์ ... กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งสาวนำเพลงมาทำใหม่ ได้แก่ สุนารี ราชสีมา (เขานอนบ้านใน, นอนฟังเครื่องไฟ, ฉันเปล่านา เขามาเอง), คัฑลียา มารศรี (สาวนาสั่งแฟน, อายแสงนีออน, หัวใจทศกัณฐ์), ฝน ธนสุนทร (สุดแค้นแสนรัก, คิดถีงบ้างเน้อ, ขอให้โสดทีเถอะ), แมงปอ ชลธิชา (รักคุด, เงินน่ะมีไหม, อื้อฮือหล่อจัง) , หลิว อาจารียา (กระแซะ, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน), เอิร์น เดอะสตาร์ (พี่ไปดู หนูไปด้วย, นัดพบหน้าอำเภอ, โลกของผึ้ง), ต่าย อรทัย (แก้วรอพี่, นักร้องบ้านนอก, คืนนี้เมื่อปีกลาย) และตั๊กแตน ชลดา (ดาวเรืองดาวโรย, ตั๊กแตนผูกโบว์, อนิจจาทิงเจอร์) นอกจากนี้ทรูแฟนเทเชีย มีผลงานชุด 7 สาวสะบัดโชว์ ก็มีเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ ผู้ชายในฝัน, อื้อฮือหล่อจัง อยู่ในอัลบั้มนี้
ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง บันทึกรักพุ่มพวง กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ
[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ [9] โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น
ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ
[10]
สำหรับหุ่นเหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ปัจจุบันมีอยู่ 6 หุ่น อยู่ที่วัดทับกระดาน โดยหุ่นที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณสระกลางน้ำ แต่งกายชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาริย์ที่สร้างขึ้นหลังพระราชทานเพลิงศพ หุ่นที่ 2 อยู่ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง หุ่นที่ 3 สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการ เป็นหุ่นแก้บน ทำด้วยขี้ผึ้งแข็ง หุ่นที่ 4 เป็นสีชมพู สร้างขึ้นจากแฟนเพลง ที่เป็นหุ่นปลดนี้ รุ่นนางพญาเสือดาว หุ่นที่ 5 อยู่ในชุดเสวนาธรรม สร้างโดยญาติและกรรมการวัด และหุ่นที่ 6 เป็นหุ่นสีทอง สร้างขึ้นโดยใหม่ เจริญปุระ สร้างขึ้นเพื่อบูชาครูเพลง[11] หุ่นพุ่มพวง ยังมีชื่อเสียงเรื่องมีผู้นิยมมาขอหวยอย่างมากมาย[12]

กรณีพิพาทหลังเสียชีวิต
14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นางเล็ก มารดาให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ก่อนเสียชีวิตไม่นานว่า พุ่มพวงได้เล่าเหตุการณ์และความรู้สึกบีบคั้นโดยเฉพาะเรื่องในครอบครัวลงในเทปตลับหนึ่ง ต่อมาเทปถูกคัดลอกเพื่อออกจำหน่ายในชื่อ บันทึกลับพุ่มพวง ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงไกรสร แสงอนันต์ ไกรสรยื่นฟ้องศาลและศาลได้ระงับการจำหน่าย
ไกรสรและญาติของพุ่มพวงเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก มีการกล่าวหากันไปมาทั้งสองฝ่าย มีข้อมูลระบุว่า ไกรสรกลับไปคืนดีกับอดีตภรรยา ส่วนอีกฝ่ายหาว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะทางฝ่ายญาติพุ่มพวงต้องการได้ส่วนแบ่ง
มรดกทั้งหมด 80 ล้านบาท ต่อมานางเล็กยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกทั้งหมด แต่ต่อมาไกรสรยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้าน และต่อมานายสำราญ (พ่อของพุ่มพวงซึ่งหย่าจากนางเล็กแล้ว) คัดค้านอดีตภรรยาเนื่องจาก นางเล็ก อ่านเขียนไม่ออก แต่ต่อมาถอนคำร้อง และศาลได้สั่งให้ไกรสรและนางเล็กเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน โดยทรัพย์สมบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน ส่วนแรกเป็นของไกรสร อีกส่วนเป็นกองกลาง ซึ่งมีเจ้าของ 4 คนคือ นายสำราญ นางเล็ก ไกรสร และลูกชาย สันติภาพ ทุกคนจะได้รับเท่ากันในส่วนนี้ แต่หากพบว่าสมบัติใดพบหลังการแบ่งแล้ว จะยกให้สันติภาพเพียงผู้เดียว[2]
2 มิถุนายน 2552 นายสรภพ ลูกชายพุ่มพวงอุปสมบทให้พุ่มพวง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก มี นางสุพรรณี สุประการ มารดาบุญธรรม และนางบุญ สุประการ ผู้เป็นยาย ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีอุปสมบท โดยในงานมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างหุ่นขี้ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” หุ่นที่ 7 โดยประชาชนที่บริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับ แผ่นซีดีเพลงที่ นายสรภพ ขับร้องไว้ในชื่ออัลบั้ม “บทเพลงเพื่อแม่ผึ้ง” และมีเพลงที่พุ่มพวงร้องสดเป็นครั้งสุดท้าย[13] ทั้งนี้สรภพเกิดเรื่องขัดแย้งกับบิดาและญาติฝ่ายพุ่มพวง โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พระสรภพ พบกับนายไกรสรและญาติพี่น้องของพุ่มพวง ที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในกรณีการจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง[14




A song is a musical composition that contains vocal parts ("lyrics") that are performed ("sung"), commonly accompanied by musical instruments (exceptions would be a cappella songs). The lyrics of songs are typically of a poetic, rhyming nature, although they may be religious verses or free prose.
Songs are typically for a solo
singer, though they may also be in the form of a duet, trio, or composition involving more voices. See part song. (Works with more than one voice to a part, however, are considered choral.) Songs can be broadly divided into many different forms, depending on the criteria used. One division is between "art songs", "pop songs", and "folk songs". Other common methods of classification are by purpose (sacred vs secular), by style (dance, ballad, Lied, etc), or by time of origin (Renaissance, Contemporary, etc).
The word "song" has the same etymological root as the verb "to sing" and the OED defines the word to mean "that which is sung"
[1]. Colloquially, song is sometimes used to refer to any musical composition, including those without vocals. In music styles that are predominantly vocal-based, such as popular music, a composition without vocals may be called a song.[citation needed]

Cultural types

[edit] Art songs
Art Song are songs created for performance in their own right, usually with
piano accompaniment, although they can also have other types of accompaniment such as an orchestra or string quartet, and are always notated. Generally they have an identified author(s) and composer and require voice training for acceptable performances. German-speaking communities use the term art song ("Kunstlied") to distinguish "serious" compositions from folk song ("Volkslied"). The lyrics are often written by a poet or lyricist and the music separately by a composer. Art songs may be more formally complicated than popular or folk songs, though many early Lieder by the likes of Franz Schubert are in simple strophic form. They are often important to national identity.
Art songs feature in many European cultures, including but not limited to:
Russian (romansy), German (Lieder), Italian (canzoni), French (mélodies), Scandinavian (sånger), Spanish (canciones). There are also highly regarded British and American art songs in the English language. Cultures outside of Europe that have a classical music tradition, such as India, may or may not feature art songs.
The accompaniment of European art songs is considered as an important part of the composition. The art song of the period in which they originally flowered is often a duet in which the vocalist and accompanist share in interpretive importance. The pieces were most often written to be performed in a home or
salon setting, although today the works enjoy popularity as concert pieces. The emergence of poetry during this era was much of what inspired the creation of these pieces by Brahms, Schumann, Schubert and other composers. These composers set poems in their native language. Many works were inspired by Johann Wolfgang von Goethe and Heinrich Heine. Another method would be to write new music for each stanza to create a unique form; this was through-composed form known in German as durchkomponiert. A combination of both of these techniques in a single setting was called a modified strophic form. Often romantic art songs sharing similar elements were grouped as a song cycle. (Kamien, 217–18)

[edit] Folk songs
Folk songs are songs of often anonymous origin (or are
public domain) that are transmitted orally. They are frequently a major aspect of national or cultural identity. Art songs often approach the status of folk songs when people forget who the author was. Folk songs are also frequently transmitted non-orally (that is, as sheet music), especially in the modern era. Folk songs exist in almost every, if not all, culture(s). For more on folk songs, see Folk music.

[edit] Popular songs
Modern popular songs are typically distributed as recordings, and are played on the
radio, though all other mass media that have audio capabilities are involved. Their relative popularity is inferred from commercially significant sales of recordings, ratings of stations and networks that play them, and ticket sales for concerts by the recording artists. A popular song can become a modern folk song when members of the public who learn to sing it from the recorded version teach their version to others. Popular songs may be called pop songs for short, although pop songs or pop music may instead be considered a more commercially popular genre of popular music as a whole.
Many people consider songs in popular music to have in general simpler structures than art songs, however, musicologists who are "both contemptuous and condescending [of popular music] are looking for types of production, musical form, and listening which they associate with a different kind of music...'classical music'...and they generally find popular music lacking" (Middleton 1990, p.103).
For a list of influential popular songs, see:
The Rock and Roll Hall of Fame in Cleveland,Ohio